หน่วยที่ 8 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
แหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การสืบค้นเพื่อหาข้อมูลหรือบริการที่ต้องการในเวิล์ดไวด์เว็บ สามารถทำได้ หลายวิธี ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานว่ามีความรู้ในการใช้อินเตอร์เน็ตและการใช้ โปรแกรม เบราว์เซอร์ มากน้อยขนาดไหน เนื่องจากปริมาณข้อมูลที่มีอยู่ในอินเตอร์เน็ตกระจายอยู่ทั่วโลกเป็น จำนวนมาก เราไม่สามารถใช้โปรแกรมเบราว์เซอร์เปิดอ่านข้อมูล จาก เว็บเพจต่าง ๆ โดยไม่ได้คัดกรองเสียก่อนได้ เนื่่องจากจะไม่ได้ข้อมูล ที่ต้องการอย่างรวดเร็ว หรืออาจหาข้อมูลที่ต้องการไม่พบ จึงมีการ พัฒนาเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลแล้วรวบรวมข้อมูล รายชื่อ เว็บไซต์และจัด ข้อมูล ให้เป็นหมวดหมู่หรือคำหลัก (keyword) เพื่อง่ายต่อการ สืบค้น เมื่อทราบหมวดหมู่หรือคำหลักก็สามารถ เข้าไปดูข้อมูลที่ต้องการได้ จึงเป็นที่นิยมกันมาก
ขั้นตอนการสืบค้นอาจดำเนินการได้ตามวิธีการดังนี้
1. การใช้ยูอาร์แอลเพื่อสืบค้น ในกรณีนี้ผู้สืบค้นต้องทราบมาก่อน ว่าข้อมูลที่ ต้องการอยู่ที่เว็บไซต์ใดก็เข้าสู่เว็บไซต์นั้น เช่น เว็บไซต์ ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ที่เป็นภาษาไทยของศูนย์ เทคโนโลยี และอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (เน็คเทค) ถ้าต้องการ ค้นหาข้อมูลสามารถ ใช้ยูอาร์แอล ดังนี้http://www.nectec.or.th
2. การใช้เครื่องมือช่วยสืบค้น ในกรณีที่เราไม่ทราบว่าแหล่งข้อมูล อยู่ที่ใดสามารถ ใช้เครื่องมือช่วยในการสืบค้นได้ โดยกำหนดกลุ่ม ข้อมูลหรือคำหลักที่ต้องการ ในการ สืบค้น เครื่องมือในการสืบค้นเป็น โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมา เพื่ออำนวยความสะดวก ในการใช้งานมีอยู่ 2 ประเภท คือ
2.1 โปรแกรมค้นหา (search engine) เป็นเว็บไซต์ค้นหาข้อมูล โดยโปรแกรมอัตโนมัติทำการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ของเว็บไซต์ อย่างละเอียด
2.2 โปรแกรมค้นหาสาระบบ (search directories) เป็นเว็บไซต์ที่ รวบรวมข้อมูล ไว้เป็นหมวดหมู่ใหญ่แล้วแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ให้ง่ายต่อ ผู้ต้องการได้ข้อมูลที่สนใจจริง ๆ
การสืบค้นข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต
การสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์ให้ได้ตรงตามความต้องการ อาจใช้เทคนิคง่าย ๆ เข้าช่วย ดังนี้
1. ทำความเข้าใจความหมายของคำเชื่อมที่สำคัญ 3 คำ คือ"และ" ใช้เพื่อจำกัดขอบเขตของข้อมูลให้แคบลง ตัวอย่าง ระบุว่า "ว.วินิจฉัยกุล" และ "เรื่องสั้น" ข้อมูลที่ได้จะเน้นข้อมูลของ ว.วินิจฉัยกุล เฉพาะที่เกี่ยวกับเรื่องสั้นเท่านั้น จะไม่ปรากฎเรื่องราวด้านอื่น ๆ เลย "หรือ" ใช้เพื่อเพิ่มขอบเขตของข้อมูลให้กว้างขึ้น
ตัวอย่าง ระบุว่า "ว.วินิจฉัยกุล" หรือ "ทมยันตี" ข้อมูลที่ได้จะเน้นข้อมูลที่เกี่ยวกับ ว.วินิจฉัยกุล และทมยันตี ทั้งหมดที่มีอยู่ในฐานข้อมูลนั้น "ไม่" ใช้เพื่อลดขอบเขตของข้อมูล ตัวอย่าง ระบุว่า "ว.วินิจฉัยกุล" ไม่ "ประวัติ" ข้อมูลที่ได้จะเน้นเรื่องราวของ ว.วินิจฉัยกุลทุกด้าน จะไม่มีเรื่องเกี่ยวกับประวัติชีวิตของ ว.วินิจฉัยกุล เลย
2. ใช้สัญลักษณ์ หากไม่ทราบวิธีสะกดคำที่ถูกต้อง
เครื่องหมายคำถาม ? ใช้แทนอักษร 1 ตัว
เครื่องหมายดอกจัน* ใช้แทนอักษรหลายตัว
ตัวอย่าง ต้องการค้นเรื่องวิญญาณ แต่ไม่แน่ใจหรือไม่ทราบว่าตัวสะกดเป็น ณ หรือ น ให้พิมพ์ "วิญญา?"
ต้องการค้นเรื่อง ปัญจวัคคีย์ แต่ไม่แน่ใจตัวการันต์ให้พิมพ์ ปัญจวัคคี*
3. ฐานข้อมูลอีริก (ERIC database) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลด้านการศึกษาให้ใช้คำว่า NEAR สำหรับการค้นที่รวมคำที่ใกล้เคียงกับคำที่ต้องการด้วย
คำแนะนำการใช้ Google
กูเกิล (Google) เว็บไซต์ Seach Engine ที่เรารู้จักกันดี แต่จะใช้งานอย่างไรให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด วันนี้ เรามีคำแนะนำในการใช้งานมาบอกต่อๆ กัน ไม่ว่าคุณจะเป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือคนทำงาน สามารถเรียนรู้ได้ รับรองมีประโยชน์จริงๆ ถ้ายังไม่เชื่อ ต้องท้าให้พิสูจน์กันครับ..
ทำความรู้จัก Google
กูเกิล คือเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลเว็บอื่นๆ หรือที่เราเรียกว่า Search Engine ปัจจุบัน กูเกิล ยังครองใจผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลกอย่างมาก เพราะจากสถิติ กูเกิลเป็นเว็บค้นหาที่มีผุ้ใช้งานมากที่สุดในโลกตัวหนึ่ง นอกเหนือจาก Yahoo! และ Bing
สาเหตุหลักๆ น่าจะมาจาก การค้นหาได้รวดเร็ว และได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจมาก ไม่ว่าเราจะค้นหาคำใดๆ รูปภาพ หรือวีดีโอ หรือแม้กระทั่งคำถามต่างๆ ก็สามารถค้นหาได้เช่นกัน แถมรวดเร็วและค่อนข้างแม่นยำมากๆ อีกด้วย และนอกจากบริการค้นหาเว็บไซต์แล้ว ยังไม่บริการอื่นๆ เสริมให้น่าใช้งานมากยิ่งขึ้นอีก เช่น ค้นหารูปภาพ ค้นหาสถานที่ เป็นต้น แล้วอย่างนี้ คุณจะรักกูเกิลได้ไง !
เข้าไปยังเว็บ www.google.com หรือ www.google.co.th? ปกติแล้วจะพาเราเข้าไปที่ google.co.th เพราะว่าเราใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย (กูเกิล เขาสามารถตรวจสอบได้) พิมพ์คำที่ต้องการค้นหาในช่องว่าง? เช่นคำว่า ?ไอที? เป็นต้น (ไม่ต้องใส่เครื่องหมาย ??) กดปุ่ม ?ค้นหาด้วย Google? แค่นี้ก็จะได้ผลลัพธ์ตามที่คุณใส่ไว้แล้ว
ทำความรู้จัก Google
กูเกิล คือเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลเว็บอื่นๆ หรือที่เราเรียกว่า Search Engine ปัจจุบัน กูเกิล ยังครองใจผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลกอย่างมาก เพราะจากสถิติ กูเกิลเป็นเว็บค้นหาที่มีผุ้ใช้งานมากที่สุดในโลกตัวหนึ่ง นอกเหนือจาก Yahoo! และ Bing
สาเหตุหลักๆ น่าจะมาจาก การค้นหาได้รวดเร็ว และได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจมาก ไม่ว่าเราจะค้นหาคำใดๆ รูปภาพ หรือวีดีโอ หรือแม้กระทั่งคำถามต่างๆ ก็สามารถค้นหาได้เช่นกัน แถมรวดเร็วและค่อนข้างแม่นยำมากๆ อีกด้วย และนอกจากบริการค้นหาเว็บไซต์แล้ว ยังไม่บริการอื่นๆ เสริมให้น่าใช้งานมากยิ่งขึ้นอีก เช่น ค้นหารูปภาพ ค้นหาสถานที่ เป็นต้น แล้วอย่างนี้ คุณจะรักกูเกิลได้ไง !
เริ่มต้นค้นหาเว็บด้วย Google
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail or E-mail)
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือเรียกย่อๆ ว่า E - Mail เป็นวิธีการติดต่อสื่อสารกันบน Internet ที่เป็นมาตรฐาน และเก่าแก่ที่สุด โดยที่สามารถจะส่งเอกสารที่เป็นข้อความธรรมดา จนถึงการส่งเอกสาร แบบมัลติมิเดีย มีทั้งภาพและเสียง ไปรอบโลก ในการให้บริการแบบนี้ ผู้ที่ต้องการส่ง และรับจดหมาย อีเล็กทรอนิกส์ จะต้องมีบัญชีการใช้บริการที่แน่นอน ซึ่งเรียกว่า E-Mail Address คล้ายๆ กับชื่อ-นามสกุล และที่อยู่นั่นเอง สามารถแบ่งการใช้อีเมล์ตามลักษณะของการให้บริการได้กว้างๆ 3 ลักษณะคือ
• อีเมล์สำนักงาน – เป็นบัญชีการใช้บริการรับ/ส่งอีเมล์ที่หน่วยงาน หรือสำนักงานของผู้ใช้เป็นผู้จัดทำและให้บริการ มีจุดเด่นคือ บ่งชี้ถึงหน่วยงานสังกัดของผู้ใช้ เช่น อีเมล์ของบุคลากรในเนคเทค จะอยู่ในรูปของ ชื่อบุคคล @nectec.or.thทำให้ทราบได้ทันทีว่าบุคคลนั้นๆ อยู่ในหน่วยงานใด
• อีเมล์โดย ISP – ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหลายท่าน คงไม่มีอีเมล์ที่จัดให้บริการโดยสำนักงาน เนื่องจากความไม่พร้อมของสำนักงานหรือหน่วยงานที่ต้นสังกัด ทางเลือกที่น่าสนใจก็คือ เมื่อผู้ใช้สมัครเป็นสมาชิกอินเทอร์เน็ตจาก ISP ส่วนมากISP ก็จะให้บริการอีเมล์ด้วยเสมอ ดังนั้นผู้ใช้จึงสามารถมีอีเมล์ที่ให้บริการโดย ISP เพื่อใช้งานได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามอีเมล์แบบนี้ มักจะมีจุดอ่อน คือ ไม่บ่งชี้สถานภาพของบุคคล หรือหน่วยงาน อายุการใช้บริการไม่ยาวนาน โดยผู้ใช้อินเทอร์เน็ต มักจะซื้อบริการที่ถูกที่สุด ดังนั้นเมื่อหมดอายุกับ ISP รายหนึ่ง ก็อาจจะเปลี่ยนเป็นอีกราย (ที่ราคาถูกกว่า) ทำให้อีเมล์เดิมถูกยกเลิกไปทันที ซึ่งเป็นภาระในการติดต่อสื่อสารได้
อีเมล์ที่ให้บริการฟรีทั่วไป – หน่วยงานหรือเว็บไซต์หลายเว็บไซต์ ให้บริการบัญชีอีเมล์ฟรีสำหรับผู้สนใจทั่วไป ดังนั้นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนมาก จึงเลือกใช้อีเมล์ลักษณะนี้ เนื่องจากสมัครได้ง่าย ฟรี และใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา
กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์
กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษ: Bulletin Board System) หรือ บีบีเอส (BBS) เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่รันซอฟต์แวร์ที่อนุญาตให้ผู้ใช้หลาย ๆ คน ใช้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมเทอร์มินัลติดต่อเข้าไปในระบบ ผ่านทางโมเด็มและสายโทรศัพท์. โดยในระบบจะมีบริการต่าง ๆ ให้ใช้ เช่น ระบบส่งข้อความระหว่างผู้ใช้ (คล้ายจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในอินเทอร์เน็ตปัจจุบัน แต่รับส่งได้เฉพาะภายในระบบเครือข่ายสมาชิกเท่านั้น) ห้องสนทนา บริการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ และกระดานแจ้งข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เป็นต้น
บีบีเอสส่วนใหญ่เปิดให้บริการฟรี โดยสมาชิกจะสามารถเข้าใช้ระบบได้แต่ละวันในระยะเวลาจำกัด บีบีเอสมักจะดำเนินการในรูปของงานอดิเรกของผู้ดูแลระบบ หรือที่เรียกกันว่า ซิสอ็อป (SysOp จากคำว่า system operator)
บีบีเอสส่วนในเมืองไทยมีขนาดเล็ก มีคู่สายเพียง 1 หรือ 2 คู่สายเท่านั้น บางบีบีเอสยังอาจเปิดปิดเป็นเวลาอีกด้วย บีบีเอสขนาดใหญ่ที่ได้รับความนิยมมากในสมัยก่อนได้แก่ ManNET ซึ่งมีถึง 8 คู่สายและเปิดบริการตลอด 24 ชม. ManNET ดำเนินการโดยแมนกรุ๊ป ผู้จัดทำนิตยสารคอมพิวเตอร์รายใหญ่ในยุคนั้น. นอกจากนี้ยังมีบีบีเอส CDC Net ของ กองควบคุมโรคติดต่อ (กองควบคุมโรค ในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นบีบีเอสระบบกราฟิกรุ่นบุกเบิกของประเทศไทย
ในปัจจุบัน บีบีเอสมีบทบาทน้อยลงไปมาก เนื่องจากความแพร่หลายและข้อได้เปรียบหลายประการของ อินเทอร์เน็ต และ เวิลด์ไวด์เว็บ. ในประเทศญี่ปุ่น คำว่า บีบีเอส อาจจะใช้เรียกกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์บนอินเทอร์เน็ตด้วย. แต่สำหรับเมืองไทยแล้ว นิยมเรียกกระดานข่าวเหล่านี้ว่า เว็บบอร์ด มากกว่า
ห้องสมุดแหล่งข้อมูล
ห้องสมุด คือแหล่งสารนิเทศ บริการทรัพยากรสารนิเทศในรูปแบบต่างๆ เช่นหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร กฤตภาควัสดุเทปและโทรทัศน์ CD-ROM DVD VCDรวมถึงไมโครฟิล์มด้วย โดยมีบรรณารักษ์ เป็นผู้ดำเนินงาน และบริหารงานต่างๆ ในห้องสมุด โดยจัดระบบเป็นหมวดหมู่ และระเบียบเรียบร้อย เพื่อให้ผู้ใช้ห้องสมุด มีความสะดวกสืบค้นได้ง่าย ตรงกับความต้องการ
ห้องสมุดในปัจจุบัน ทำหน้าที่เก็บรวบรวม จัดระบบ เพื่อให้บริการสื่อสารนิเทศต่างๆ ตลอดจนถึงเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีทางการสื่อสาร อีกทั้งยังมีเครื่องมือในการค้นหาและดำเนินการให้บริการสื่อต่างๆ เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้ห้องสมุด ห้องสมุด ยังมีคำเรียกต่างๆ อีกมากมาย อาทิ ศูนย์ข้อมูล, ศูนย์วัสดุ, ศูนย์วัสดุการศึกษา, สถาบันวิทยบริการ, ศูนย์เอกสาร และ ศูนย์สารนิเทศ เป็นต้น
ห้องสมุดบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์
Digital Library (ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์) หมายถึง การจัดเก็บสารสนเทศในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ แทนที่จะจัดเก็บในรูปของสื่อพิมพ์ ขณะนี้ได้เริ่มมีการใช้วิธีการเช่นนี้แล้ว แต่คงต้องรออีกนานทีเดียวกว่าที่ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์จะสามารถแทนที่ห้องสมุดแบบดั้งเดิม หรือ แม้แต่เพียงจะสามารถมีบทบาทเทียบเคียง กับห้องสมุดแบบดั้งเดิม ที่เป็นเช่นนี้เพราะมีเหตุผลหลายประการ ประการแรก สิ่งพิมพ์ที่มีอยู่แล้วมีเป็นจำนวนมาก หากจะนำมาดิจิไทซ์ (digitize) หรือแปลงเป็นสารสนเทศแบบดิจิทัล ก็ต้องลงทุนลงแรงมหาศาลประการที่สอง ผู้ใช้สารสนเทศส่วนใหญ่ในยุคปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น